สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
  • perm_phone_msg+(042) 970 131
หน้าแรก ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลสารสนเทศ เข้าสู่ระบบ
 

สพป.สกลนคร เขต 1 ขับเคลื่อนงานคุณภาพการสอนภาษาไทย เพื่อ เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเ

สตเมือ : 5 ก.ย. 2566 เวลา 16:44 น. IP: 1.20.217.161
รหเือ

สพป.สกลนคร เขต 1 ขับเคลื่อนงานคุณภาพการสอนภาษาไทย เพื่อ เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน

.
วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 น. นายไพรวัลย์ จันทะนะ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมผ่านระบบออนไลน์ Google Meet เรื่อง การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ตามนโยบาย “เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน” โดยมี นางนันท์ปภัทร์ บรรณ์ติเจริญโชติ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ร่วมเป็นเกียรติ ถ่ายทอดสัญญาณการประชุม ณ ห้องประชุมกลุ่ม DLICT อาคารนิเทศ ชั้น 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
การอ่านออก เขียนได้ เป็นทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ในการพัฒนาความรู้ กระบวนการคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม และจากสภาพปัญหาที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้นักเรียนเกิดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียน และปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ดังกล่าว จึงกำหนดจุดเน้นในการพัฒนาให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้ สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และจัดการประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจและ ความตระหนักการขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ตามนโยบาย “เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน” เพื่อให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้แทน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 174 โรงเรียน และศึกษานิเทศก์ ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดนโยบาย “เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน” โดยตั้งเป้าหมายความสำเร็จไว้ที่ 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ทุกคนอ่านออก เขียนได้ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อ่านคล่องเขียนคล่อง และ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 มีสมรรถนะการอ่านขั้นสูง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้การอ่าน การเขียนเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิชาอื่น ๆ และการดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
 

คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ