สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
  • perm_phone_msg+(042) 970 131
หน้าแรก ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลสารสนเทศ เข้าสู่ระบบ
 

สพป.สกลนคร เขต 1 ถอดบทเรียน โครงการพัฒนาการพูด อ่าน เขียนภาษาไทย แก้ไข Learning

สตเมือ : 10 พ.ค. 2566 เวลา 14:51 น. IP: 10.10.0.183, 1.20.217.161
รหเือ

สพป.สกลนคร เขต 1 ถอดบทเรียน โครงการพัฒนาการพูด อ่าน เขียนภาษาไทย แก้ไข Learning Loss
         วันที่ 24 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 น. นายไพรวัลย์ จันทะนะ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 มอบหมายให้ นางสาวรัญญ์สิรินทร์ ธีราภัทรคุณางกูร รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมถอดบทเรียน โครงการส่งเสริมและพัฒนาการพูด อ่าน เขียนภาษาไทย จังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอกุสุมาลย์ ณ ห้องประชุมพระญาณเวที ชั้น 1 อาคารอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
          โครงการส่งเสริมและพัฒนาการพูด อ่าน เขียนภาษาไทย จังหวัดสกลนคร เป็นโครงการที่สภากาชาดไทย โดยสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด ดำเนินการขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาการเรียนของรู้เด็กนักเรียนและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร เป็นการพัฒนาทักษะด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยสร้างชุดฝึกเทคนิคสแกฟโฟลดิง (Scaffolding) เพื่อใช้แก้ปัญหากลุ่มนักเรียนที่มีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 จากการคัดเลือกโรงเรียนนำร่อง 4 โรงเรียน และเข้าร่วมโครงการครบร้อยละ 100 ในปีการศึกษา 2565 ซึ่งการประชุมฯ ในครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และวางแผนพัฒนาการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่องในปีการศึกษาต่อไป มีผู้เข้าร่วมประชุม 70 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 และครูอาสาสมัครสอนเสริม โรงเรียนละ 2 คน จาก 26 โรงเรียน รวม 52 คน และคณะศึกษานิเทศก์ จำนวน 18 คน
          ทั้งนี้ ภาษาไทยเป็นเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ หากผู้เรียนไม่สามารถอ่านออกเขียนได้จะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ด้านอื่นและส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดนโยบาย “เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน” โดยตั้งเป้าให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ทุกคนอ่านออก เขียนได้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อ่านคล่องเขียนคล่อง และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 มีสมรรถนะการอ่านขั้นสูง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้การอ่าน การเขียนเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิชาอื่น ๆ และการดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

.
ภาพทั้งหมด https://photos.app.goo.gl/GptpDKW9ND5Aw3w36
 

คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ