สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
  • perm_phone_msg+(042) 970 131
หน้าแรก ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลสารสนเทศ เข้าสู่ระบบ
 

สพป.สกลนคร เขต 1 ประเมินผลงานโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย

สตเมือ : 9 พ.ค. 2565 เวลา 09:12 น. IP: 1.20.217.161
รหเือ

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2565 เวลา 09.00 น. นายไพรวัลย์ จันทะนะ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 เป็นประธานเปิดการประเมินผลงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ปีการศึกษา 2564 โดยมี ดร.สมพร หลิมเจริญ ผอ.กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษากล่าวรายงาน ณ ห้องประชุม ชั้น 1 อาคารนิเทศ สพป.สกลนคร เขต 1
.
การประเมินผลงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ปีการศึกษา 2564 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มอบหมายให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 เป็นผู้ดำเนินการประเมินผลงาน เพื่อให้ครูผู้สอนระดับปฐมวัยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดประสบการณ์โครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับปฐมวัย และเพื่อคัดเลือกผลงานของครูผู้สอนระดับปฐมวัยที่จะเป็นตัวอย่างของการจัดประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ที่ดีแก่โรงเรียนในสังกัด และขอรับพระราชทานตราสัญลักษณ์ ประจำปีการศึกษา 2564 ซึ่งมีคณะกรรมการประเมินฯ ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบโครงการ วิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น ผู้บริหารและคุณครูผู้ทรงคุณวุฒิด้านปฐมวัย ด้านวิทยาศาสตร์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีโรงเรียนในสังกัดที่ขอรับการประเมินดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 35 โรงเรียน ผ่านโปรแกรม Google Meet  
.
ทั้งนี้ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย เป็นโครงการที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสถาบันของรัฐและเอกชน ดำเนินโครงการ มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ปลูกฝังให้เด็กปฐมวัยมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยกิจกรรมที่สร้างความสนุก ความเพลิดเพลิน ฝึกทักษะการสังเกต การตั้งคำถามและหาคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งผู้สอนต้องพิจารณาถึงแนวทางการจัดประสบการณ์ที่หลักสูตรกำหนด โดยคำนึงถึงพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งความสนใจ ความสามารถและสภาพแวดล้อม พร้อมทั้งต้องสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กปฐมวัยเติบโตขึ้นเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พร้อมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

  

คำบรรยายภาพ